ประวัติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ตามประวัติความเป็นมาของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยนั้น ปรากฏว่าก่อนที่จะมีการก่อตั้งที่ประชุมแห่งนี้ขึ้นอาจกล่าวได้ว่า มหาวิทยาลัยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต คือ รัฐบาลในขณะนั้นกำลังดำเนินการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน ต้องการให้มีการจัดรูปงานและองค์การของราชการเสียใหม่ให้มีหน่วยงานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น คณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารของคณะรัฐบาลได้เสนอให้โอนมหาวิทยาลัยทั้งหมดไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจวบกับขณะนั้นได้มีกิจการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ขึ้น และมีปัญหาอยู่ไม่น้อย เหตุดังกล่าวจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่มีส่วนทำให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ หันมาให้ความร่วมมือแก่กันมากขึ้น ในการจัดตั้งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยนั้น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, ศาสตราจารย์ นพ.สวัสดิ์ สกุลไทย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ยกร่างข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นข้อตกลงว่าด้วยการประชุมอธิการบดี พ.ศ. 2515 ขึ้น เมื่อร่างเสร็จจึงมีการจัดประชุมขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 29 มกราคม 2515 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ประชุมได้ลงมติรับรองข้อตกลงดังกล่าว และได้มีการลงนามในข้อตกลงโดยผู้แทนจาก 12 สถาบัน คือ

ศ.มจ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศ.พิมล กลกิจ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศ.ดร.อรุณ สรเทศน์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.นพ.บุญสม มาร์ติน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศ.นพ.กษาน จาติกวนิช
มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศ.แสวง สดประเสริฐ
มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศ.ดร.บัวเรศ คำทอง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศ.ดร.ชุบ กาญจนประกร
วิทยาลัยวิชาการศึกษา

ศ.ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วันที่ 29 มกราคม 2515 จึงเป็นวันที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นการดำเนินงานงานของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ในวันนี้ที่ประชุมได้ตกลงเลือกให้ ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นเลขาธิการฯ สมาชิกสถาบันที่เริ่มต้นลงนามในข้อตกลงครั้งแรกมี 12 สถาบัน ในภายหลังได้ขยายเพิ่มเป็น 16 สถาบัน และปัจจุบันที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยมีสมาชิกทั้งสิ้น 36 สถาบัน ที่ประชุมอธิการบดีมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Rectors Conference ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น Council of University Presidents of Thailand เป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของอธิการบดีมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งมีความเห็นร่วมกันว่าน่าจะมีการประชุม พบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อประโยชน์ในการประสานงานกันระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางที่เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น เสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการอุดมศึกษาของประเทศ และผลักดันความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นให้เกิดผล
พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2529

พ.ศ. 2515
ศ.ดร.อรุณ สรเทศน์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2516
มจ.จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2517
ศ.พิมล กลกิจธุ์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พ.ศ. 2518
ศ. น.อ. นพ.ตะวัน กันวานพงศ์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2518
รศ.นพ.ยงยุทธ สัจจวาณิชย์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2519
ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2518
ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2518
ศ.นพ.กษาน จาติกวนิช
มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2518
ศ.กำธร พันธุลาภ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ. 2518
ศ.ดร.นิพนธ์ ศศิธร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พ.ศ. 2522
ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พ.ศ. 2523
ศ.ม.ร.ว ทองใหญ่ ทองใหญ่มหาวิทยาลัยศิลปากร

พ.ศ. 2524
รศ.นพ.ทองจันทร์ หงส์ลดารมภ์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พ.ศ. 2525
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ. 2526
ศ.นพ.ณัฐ ภมรประเสริฐ
มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2527
รศ.ดร.ทิตยา สุวรรณะชฏ
สถาบันบัณฑิพัฒนบริหารศาสตร์

พ.ศ. 2528
ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2529
ผศ.ดร.จงรัก ปรีชานนท์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2529
ศ.ดร.สุธรรม อารีกุล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน

พ.ศ. 2542
ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2542-2544
รศ.ดร.สุมณฑา พรหมบุญ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พ.ศ. 2545
รศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พ.ศ. 2546
รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2547
ศ.นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พ.ศ. 2548
รศ.ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พ.ศ. 2549
ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ. 2550
รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พ.ศ. 2551
รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี
มหาวิทยาลัยนเรศวร

พ.ศ. 2552
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2553-2554
ศ.ดร.ประสาท สืบค้า
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

พ.ศ. 2555-2556
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ. 2557
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พ.ศ. 2558
ศ.ดร.ประสาท สืบค้า
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

พ.ศ. 2559
ศ.นพ.อุดม คชินทร
มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2560-2561
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พ.ศ. 2562-2563
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พ.ศ. 2564-2565
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2566-2567
ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พันธกิจ
ปฏิญญาว่าด้วย พันธกิจและสถานภาพของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
ในศตวรรษใหม่ประกาศเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2542
ในการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2542 ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
——————————————
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย จึงร่วมกันกำหนดพันธกิจและสถานภาพขององค์กรดังต่อไปนี้
- ทปอ. จะเพิ่มบทบาทการชี้แนะเชิงนโยบายแก่รัฐบาล และชี้นำชุมชนและสังคมในการแก้ไขปัญหาพัฒนาและ สร้างภูมิคุ้มกันแก่ชุมชนและสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้วยองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยเพื่อมุ่ง สู่การพึ่งพาตนเองบนฐานวัฒนธรรมไทยและด้วยสัมพันธภาพที่ดีกับนานาประเทศอย่างมีศักดิ์ศรี
- ทปอ. จะเร่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการของแต่ละมหาวิทยาลัย/ สถาบันและดำรงอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัย โดย
- 2.1 สร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการ ที่มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ ทั้งด้านการเงินการคลัง วิชาการ และบุคลากร
- 2.2 ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในด้านการวิจัย การบริการวิชาการ การประกันคุณภาพการศึกษา การเรียนการสอน การเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบัน การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนิสิตนักศึกษา และความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ เป็นต้น
- 2.3 ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางวิชาการร่วมกันเพื่อความประหยัด และการเพิ่มประสิทธิภาพ
- ทปอ. จะดำเนินกิจกรรมร่วมกันในโครงการพิเศษอื่นๆ เพื่อส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัย ในด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย และการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งกิจกรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทสตรี สันติภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในชาติและในประชาคมโลกด้วย
- ทปอ. จะสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับรัฐบาล สังคมและชุมชน เพื่อปฏิบัติภาระกิจในด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างสังคมยุคใหม่ให้เป็นสังคมความรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร และชุมชน
สัญลักษณ์ ปทอ.
สัญลักษณ์ ทปอ.

สัญลักษณ์ ปทอ.
ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์ในการทำงาน
สัญลักษณ์ ปทอ.
เลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

เลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา
ประสบการณ์ในการทำงาน
- 2542
Ph.D. (Chemical Engineering)
University of Michigan, USA (Fulbright)
- 2532
M. App. Sc. (Biotechnology)
University of New South Wales, Australia (ทุน ก.พ.)
- 2529
วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
- กรรมการบริหาร ทปอ./กรรมการจัดจ้างระบบ IT สําหรับ TCAS/อนุ กก. รางวัล สออ. พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน
- กรรมการ TCAS ทปอ. พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน
- รองประธานมูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์ พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน
- รักษาการรองอธิการบดี (กํากับดูแลด้านกิจการพิเศษ พัสดุ และ SDG) และเลขานุการ สภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ค. – ต.ค. 2567
- รองอธิการบดี (กํากับดูแลด้านบริหาร กฎหมาย พัสดุ IT และศิลปวัฒนธรรม) และเลขานุการ สภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563-2567
- รองอธิการบดี (กํากับดูแลด้านวิชาการ/กิจการนิสิต/พัฒนาบุคลากร) และเลขานุการ สภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพ.ศ. 2559-2563
- คณบดี วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี (2 วาระ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551-2559
- รองคณบดี วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2548-2551
- ผู้อํานวยการ Cleaner Technology Program, MTEC, สวทช. (ขอยืมตัว) พ.ศ. 2542-2548
- เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2532
- บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จํากัด พ.ศ. 2529-2530
- 2565
ศิษย์เก่าเกียรติยศโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ
- 2564
ข้าราชการพลเรือนดีเด่น (ครุฑทองคํา)
- 2556
ผลงานวิจัยดีเด่น สกว.
- 2554
รางวัลชนะเลิศ ผลงานวิชาการและวิจัยด้านพลังงานทดแทนสภาวิศวกรแห่งประเทศไทย
- 2551
PTIT Fellowship Award สถาบันปิ โตรเลียมแห่งประเทศไทย
- งานบริการทดสอบและให้ข้อแนะนำปรึกษาต่างๆ เกี่ยวกับการทดสอบอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และพลังงานทดแทน ของบริษัทภายนอกและการทำวิจัยทางด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลัง และพลังงาน ของนักศึกษาปริญญาโท/ เอก ห้องปฏิบัติการการประยุกต์ใช้งานพลังงานทดแทน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า-เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- งานกิจการนักศึกษา
- อาจารย์ที่ปรึกษา ชมรม อาสาพัฒนาฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน
- อาจารย์ที่ปรึกษา ชมนุม POWER คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน
- เลขาธิการชมรม3พระจอมฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน - IEEE member since 2003, and IEEE Senior member since 2013
- Eta Kappa Nu member since 2004
รองเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

รองเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
รศ.เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร
ประสบการณ์ในการทำงาน
- พ.ศ. 2553 – 2559
รองอธิการฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- พ.ศ. 2549 – 2553
เลขานุการคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- พ.ศ. 2545 – 2549
รองอธิการบดีฝ่ายคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- พ.ศ. 2536 – 2544
รองคณบดีฝ่ายคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- ประธานคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน
- กรรมการประเมินคุณภาพการศึกาาภายนอก ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน
- กรรมการประเมินผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ วิทยากรแกนนำอบรมผู้ประเมินคุณภาพภายใน สกอ. พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน
- คณะทำงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ CUPT QA ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
- การอบรม Shadowing Dean (University of Melbourne) การประเมินผลการดำเนินงานองค์กร การบริหารจัดการองค์กร
- การอบรม Education Administration (Monash University) การประเมินผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัย การบริหารการศึกาาการบริหารมหาวิทยาลัย
- การอบรมหลักสูตรวิทยากรแกนนำ การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2557 – 2561 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- การอบรมหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพภายนอก สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบ 1 – รอบ พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน
- การอบรมหลักสูตรวิทยากรที่ปรึกษา ผู้ประเมิน การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
- การอบรมหลักสูตรผู้ประเมินรางวัลคุณภาพรายหมวด การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
ผู้บริหารที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศ.ดร.ภก.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
เลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยาเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

รศ.เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร
รองเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ระบบ TCAS

รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์
ผู้จัดการระบบ TCAS
ผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร
เลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา
เลขาธิการฯ

รศ.เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร
รองเลขาธิการฯ
หัวหน้าสำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

กนกภรณ์ ทับทิมทอง
หัวหน้าสำนักงานเลขาฯ
เจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

นีรนุช แลบัว

สุวิมล ประทุม

รฐา เพ็งจันทร์

ว่าง

ณิชกานต์ ฝายศักดิ์

อารีซ๊ะ ราชเพ็ชร

จักรพงษ์ อินทร์กร่ำ
